ตำนานการกินเจ
มีตำนานเล่าเรื่องมากมายเกี่ยวกับการกินเจ ซึ่งล้วนแต่เป็นการยกย่องสรรเสริญ และแสดงความเคารพต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อให้เกิดความเป็นศิริมงคลแก่ตนเอง จึงขอสรุปมาเป็นบางส่วนเท่านั้น อย่างเช่น
1. ตำนานการกินเจเพื่อบูชาพระพุทธเจ้า
เป็นการประกอบพิธีเพื่อสักการะบูชาพระพุทธเจ้าในอดีตกาล 7 พระองค์ และพระมหาโพธิสัตว์อีก รวมเป็น 9 พระองค์ด้วยกัน หรืออีกนัยหนึ่งเรียกว่า “ดาวนพเคาะห์” ทั้ง 9 ได้แก่
- พระอาทิตย์
- พระจันทร์
- พระอังคาร
- พระพุทธ
- พระฤหัสบดี
- พระศุกร์
- พระเสาร์
- พระราหู
- พระเกตุ
ในพิธีกรรมบูชานี้สาธุชนในพระพุทธศาสนา สละเวลาทางโลภมาบำเพ็ญศิล งดเว้นเนื้อสัตว์และแต่กายชุดขาว
2. ตำนานฝ่ายมหายาน
ผู้ถือศิลกินเจในพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานที่ปฎิบัติสืบทอดต่อกันมาของชาวจีนในประเทศไทย เพื่อสักการะบูชาพระพุทธเจ้าในอดีต 7 พระองค์ ดังมีในพระสูตรปั๊กเต๊าโก๋ว ฮุดเชียวไจเอียงชั่วเมียวเกียง กล่าวไว้คือ
- พระวิชัยโลกมนจรพุทธะ ปรากฏเป็น พระอาทิตย์ จีนเรียกว่า ไท้เอี้ยงแซ
- พระศรีรัตนโลกประภา โฆษอิศวรพุทธะ ปรากฏเป็น พระจันทร์ จีนเรียกว่า ไท้อิมแซ
- พระเวปุลลรัตนโลกสุวรรณพุทธะ ปรากฏเป็น ดาวอังคาร จีนเรียกว่า ฮวยแซ
- พระอโศกโลกวิชัยมงคล พุทธะปรากฏเป็น ดาวพุธ จีนเรียกว่า จุ้ยแซ
- พระวิสุทธิอาศรมโลกเวปุลลปรัชญา วิภาคพุทธะ ปรากฏเป็น ดาว พฤหัสบดี จีนเรียกว่า บักแซ
- พระธรรมมติธรรม สาครจรโลกมโนพุทธะปรากฏเป็น ดาวศุกร์ จีนเรียกว่า กินแซ
- พระเวปุลลจันทร์โลก ไภสัชชไวฑูรย์พุทธะปรากฏเป็น ดาวเสาร์ จีนเรียกว่า โท้วแซ
และพระมหาโพธิสัตว์อีก 2 พระองค์ คือ
- พระศรีสุขโลกปัทมครรภอลังการโพธิสัตว์ ปรากฏเป็นดาวราหู จีนเรียกว่า ล่อเกาแซ
- พระศรีเวปุลลสังสารโลกสุขอิศวร โพธิสัตว์ ปรากฏเป็นดาวเกตุ จีนเรียกว่า โกยโต้วแซ
รวมเป็น 9 พระองค์ หรือ (เก้าอ๊วง) ทรงตั้งปณิธานโปรดสัตว์โลก จึงได้แบ่งกายมาเป็นเทพเจ้า 9 พระองค์ด้วยกันคือ
- ไต้อวยเอี๊ยงเม้งทัมหลังไทแชกุน
- ไต้เจียกอิมเจ็งกื้อมึ้งงวนแชกุน
- ไต้กวนจิงหยิ้งลุกช้งเจงแชกุน
- ไต้ฮั่งเฮี่ยงเม้งม่งเคียกนิวแชกุน
- ไต้ปิ๊กตังง้วนเนี้ยบเจงกังแชกุน
- ไต้โพ้วปั๊กเก๊กบู๊เอียกกี่แชกุน
- ไต้เพียวเทียนกวนพัวกุงกวนแชกุน
- ไต้ตั่งเม้งงั่วคูแชกุน
- ฮุ้ยกวงไตเพียกแชกุน
เทพเจ้าทั้ง 9 พระองค์ ทรงอำนาจตบะอันเรืองฤทธิ์บริหารธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ และทอง ทั่วทุกพิภพน้อยใหญ่สารทิศ
คำว่า “เก้าอ๊วง” หรือ “กิ๊วอ๊วง” แปลว่า พระราชา 9 พระองค์ หรือ “นพราชา” หมายถึง ผู้เป็นใหญ่ทั้ง 9 ซึ่งเป็นที่มาของประเพณีกินผักกินเจ
ประเพณีกินเจที่ชาวจีนเรียกว่า “เก้าอ๊วง” หรือ “กิ๊วอ๊วง” ประเพณีกินเจที่ชาวจีนเรียกกันว่า “เก้าอ๊วงเจ” หรือ “กิ้วอ๊วงเจ” แปลว่า “เจเดือน 9″ เริ่มต้นในวันขึ้น 1 ค่ำ ถึง 9 ค่ำ เดือน 9 ตามปฏิทินจีน รวม 9 วัน 9 คืน ตรงกับเดือน 11 หรือเดือนตุลาคมของไทย (ตามปฏิทินสากล) สำหรับในปี พ.ศ.2558 นี้ เริ่มวันที่ 12 ตุลาคม – 21 ตุลาคม
เมื่อถึงวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 9 ของทุกปี เราจะเห็นธงสีเหลืองๆ มีตัวอักษรจีนประดับอยู่ตามร้านอาหาร และที่ต่างๆ เป็นสัญลักษณ์ว่า เริ่มเข้าสู่เทศกาลกินเจแล้ว แต่บางคนอาจกินเจล้วงหน้า 1 วัน หรือที่เรียกว่า “ล้างท้องนั้นเอง” เพื่อเป็นการปรับธาตุของตัวเองอีกด้วย
ดังนั้นคำคล้องจองที่เราได้ยินอยู่เสมอ คือ “ถือศิล กินเจ” จึงนับว่ามีความหมายสมบูรณ์ครบถ้วนอยู่ในตัวเองแล้ว ตาม ร้านขายอาหารเจ เราจะพบตัวอักษร คำนนี้อ่านว่า ไจ”เจ” แปลว่า “ไม่มีของคราว” เขียนด้วยสีแดง เป็นพื้นสีเหลืองเสมอ ในช่วเเทศกาลกินเจเดือน 9 ก็จะเห็นตัวอักษรนี้เขียนอยู่บนธงสีแดง ปักอยู่ตามแผงขายอาหารเจ ซึ่งมองเห็นเป็นที่สะดุดตาแก่คนทั่วไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น