วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2559



ตำนานการกินเจตำนานการกินเจ

มีตำนานเล่าเรื่องมากมายเกี่ยวกับการกินเจ ซึ่งล้วนแต่เป็นการยกย่องสรรเสริญ และแสดงความเคารพต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อให้เกิดความเป็นศิริมงคลแก่ตนเอง จึงขอสรุปมาเป็นบางส่วนเท่านั้น อย่างเช่น

1. ตำนานการกินเจเพื่อบูชาพระพุทธเจ้า

เป็นการประกอบพิธีเพื่อสักการะบูชาพระพุทธเจ้าในอดีตกาล 7 พระองค์ และพระมหาโพธิสัตว์อีก  รวมเป็น 9  พระองค์ด้วยกัน หรืออีกนัยหนึ่งเรียกว่า “ดาวนพเคาะห์” ทั้ง 9 ได้แก่
  1. พระอาทิตย์
  2. พระจันทร์
  3. พระอังคาร
  4. พระพุทธ
  5. พระฤหัสบดี
  6. พระศุกร์
  7. พระเสาร์
  8. พระราหู
  9. พระเกตุ
ในพิธีกรรมบูชานี้สาธุชนในพระพุทธศาสนา สละเวลาทางโลภมาบำเพ็ญศิล งดเว้นเนื้อสัตว์และแต่กายชุดขาว

2. ตำนานฝ่ายมหายาน

ผู้ถือศิลกินเจในพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานที่ปฎิบัติสืบทอดต่อกันมาของชาวจีนในประเทศไทย เพื่อสักการะบูชาพระพุทธเจ้าในอดีต 7 พระองค์ ดังมีในพระสูตรปั๊กเต๊าโก๋ว ฮุดเชียวไจเอียงชั่วเมียวเกียง กล่าวไว้คือ
  1. พระวิชัยโลกมนจรพุทธะ ปรากฏเป็น พระอาทิตย์ จีนเรียกว่า ไท้เอี้ยงแซ
  2. พระศรีรัตนโลกประภา โฆษอิศวรพุทธะ ปรากฏเป็น พระจันทร์ จีนเรียกว่า ไท้อิมแซ
  3. พระเวปุลลรัตนโลกสุวรรณพุทธะ ปรากฏเป็น ดาวอังคาร จีนเรียกว่า ฮวยแซ
  4. พระอโศกโลกวิชัยมงคล พุทธะปรากฏเป็น ดาวพุธ จีนเรียกว่า จุ้ยแซ
  5. พระวิสุทธิอาศรมโลกเวปุลลปรัชญา วิภาคพุทธะ ปรากฏเป็น ดาว พฤหัสบดี จีนเรียกว่า บักแซ
  6. พระธรรมมติธรรม สาครจรโลกมโนพุทธะปรากฏเป็น ดาวศุกร์ จีนเรียกว่า กินแซ
  7. พระเวปุลลจันทร์โลก ไภสัชชไวฑูรย์พุทธะปรากฏเป็น ดาวเสาร์ จีนเรียกว่า โท้วแซ
และพระมหาโพธิสัตว์อีก 2 พระองค์ คือ
  • พระศรีสุขโลกปัทมครรภอลังการโพธิสัตว์ ปรากฏเป็นดาวราหู จีนเรียกว่า ล่อเกาแซ
  • พระศรีเวปุลลสังสารโลกสุขอิศวร โพธิสัตว์ ปรากฏเป็นดาวเกตุ จีนเรียกว่า โกยโต้วแซ
รวมเป็น 9 พระองค์ หรือ (เก้าอ๊วง) ทรงตั้งปณิธานโปรดสัตว์โลก จึงได้แบ่งกายมาเป็นเทพเจ้า 9 พระองค์ด้วยกันคือ
เก้าอ๊วง
  1. ไต้อวยเอี๊ยงเม้งทัมหลังไทแชกุน
  2. ไต้เจียกอิมเจ็งกื้อมึ้งงวนแชกุน
  3. ไต้กวนจิงหยิ้งลุกช้งเจงแชกุน
  4. ไต้ฮั่งเฮี่ยงเม้งม่งเคียกนิวแชกุน
  5. ไต้ปิ๊กตังง้วนเนี้ยบเจงกังแชกุน
  6. ไต้โพ้วปั๊กเก๊กบู๊เอียกกี่แชกุน
  7. ไต้เพียวเทียนกวนพัวกุงกวนแชกุน
  8. ไต้ตั่งเม้งงั่วคูแชกุน
  9. ฮุ้ยกวงไตเพียกแชกุน
เทพเจ้าทั้ง 9 พระองค์ ทรงอำนาจตบะอันเรืองฤทธิ์บริหารธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ และทอง ทั่วทุกพิภพน้อยใหญ่สารทิศ
คำว่า “เก้าอ๊วง” หรือ “กิ๊วอ๊วง” แปลว่า พระราชา 9 พระองค์ หรือ “นพราชา” หมายถึง ผู้เป็นใหญ่ทั้ง 9 ซึ่งเป็นที่มาของประเพณีกินผักกินเจ
ประเพณีกินเจที่ชาวจีนเรียกว่า “เก้าอ๊วง” หรือ  “กิ๊วอ๊วง” ประเพณีกินเจที่ชาวจีนเรียกกันว่า “เก้าอ๊วงเจ” หรือ “กิ้วอ๊วงเจ” แปลว่า “เจเดือน 9″ เริ่มต้นในวันขึ้น 1 ค่ำ ถึง 9 ค่ำ เดือน 9 ตามปฏิทินจีน รวม 9 วัน 9 คืน ตรงกับเดือน 11 หรือเดือนตุลาคมของไทย (ตามปฏิทินสากล) สำหรับในปี พ.ศ.2558 นี้ เริ่มวันที่ 12 ตุลาคม – 21 ตุลาคม
เมื่อถึงวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 9 ของทุกปี เราจะเห็นธงสีเหลืองๆ มีตัวอักษรจีนประดับอยู่ตามร้านอาหาร และที่ต่างๆ เป็นสัญลักษณ์ว่า เริ่มเข้าสู่เทศกาลกินเจแล้ว แต่บางคนอาจกินเจล้วงหน้า 1 วัน หรือที่เรียกว่า “ล้างท้องนั้นเอง” เพื่อเป็นการปรับธาตุของตัวเองอีกด้วย
ดังนั้นคำคล้องจองที่เราได้ยินอยู่เสมอ คือ “ถือศิล กินเจ” จึงนับว่ามีความหมายสมบูรณ์ครบถ้วนอยู่ในตัวเองแล้ว ตาม ร้านขายอาหารเจ เราจะพบตัวอักษร คำนนี้อ่านว่า ไจ”เจ” แปลว่า “ไม่มีของคราว” เขียนด้วยสีแดง เป็นพื้นสีเหลืองเสมอ ในช่วเเทศกาลกินเจเดือน 9 ก็จะเห็นตัวอักษรนี้เขียนอยู่บนธงสีแดง ปักอยู่ตามแผงขายอาหารเจ ซึ่งมองเห็นเป็นที่สะดุดตาแก่คนทั่วไป